น้ำไขข้อ หรือน้ำเลี้ยงข้อเข่า คืออะไร?
น้ำไขข้อ หรือน้ำเลี้ยงข้อ (Synovial fluid) เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในข้อต่อ (Joints) ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะที่ข้อเข่า แต่ยังพบในข้อไหล่ ข้อเท้า ข้อสะโพก เป็นต้น เพราะลักษณะโครงสร้างของข้อต่อเหล่านี้ จะคล้ายกันคือ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะเกิดโรคข้อเสื่อมได้เช่นกัน
น้ำไขข้อ หรือน้ำเลี้ยงข้อเข่า สำคัญอย่างไร?
น้ำไขข้อ หรือน้ำเลี้ยงข้อ ไม่ว่าจะอยู่ในข้อต่อส่วนใด จะมีหน้าที่ที่สำคัญเหมือนกัน คือ
-
หล่อลื่นข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดี ไม่ผืดขัด
-
รองรับแรงกระแทก โดยเฉพาะข้อต่อที่ต้องรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า เป็นต้น
โดยปกติน้ำเลี้ยงข้อจะมีการสร้างใหม่มาทดแทนด้วยกลไกตามธรรมชาติ แต่เมื่อไรก็ตามที่ข้อต่อ เริ่มมีพยาธิสภาพไม่ดี อันเกิดจากปัจจัยทางอายุการใช้งานของข้อ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับข้อต่อ ฯลฯ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้ส่วนประกอบในข้อ รวมถึงน้ำเลี้ยงข้อเสียคุณสมบัติไป คือ ความหนืด และความยึดหยุ่นน้อยลง หรือบางรายที่เป็นมาก น้ำเลี้ยงข้อที่มีคุณภาพ จะเหลืออยู่ในปริมาณที่น้อยมาก จนในที่สุดจะเกิดอาการต่างๆ ที่ผู้ป่วยมักพบได้ ได้แก่
-
ปวด หรือเสียวในข้อ โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหว
-
ข้อยืด ฝืดขัด มีเสียงกรอบแกรบในข้อ เป็นต้น
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าน้ำเลี้ยงข้อนั้นมีความสำคัญกับข้อต่อเป็นอย่างยิ่ง การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม จึงถือเป็นการรักษาโรคข้อเสื่อมวิธีหนึ่ง ที่แพทย์พิจารณาเลือกใช้ เนื่องจากน้ำเลี้ยงข้อธรรมชาติ ประกอบด้วยสารสำคัญ ที่มีชื่อว่า “กรดไฮยาลูรอนิค” (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสายโช่ยาวเรียงตัวกัน แต่จะมีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่พบ เช่น น้ำตา น้ำเลี้ยงข้อ เป็นต้น
ดังนั้น น้ำไขข้อเทียมที่จะฉีดเข้าไปทดแทน จึงประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ กรดไฮยาลูรอนิค นั่นเอง
โดยปัจจุบัน น้ำไขข้อเทียมมีหลายผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป แม้ว่าจะมีความเข้มข้นของกรดไฮยาลูรอนิคที่เท่ากันก็ตาม ดังนั้น แพทย์มักจะพิจารณาเลือก โดยคำนึงถึง
น้ำไข้ข้อเทียม มีกี่ชนิด แบบไหนบ้าง?
น้ำไข้ข้อเทียมนั้น แบ่งตามน้ำหนักโมเลกุล หรือขนาดของโมเลกุล ซึ่งทำให้น้ำข้อเทียมยี่ห้อต่างๆนั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ชนิดที่โมเลกุลใหญ่ จะมีฤทธิ์ของการหล่อลื่น และรับแรงกระแทกได้ดีกว่าแบบโมเลกุลเล็ก ส่วนโมเลกุลเล็ก จะมีฤทธิ์ในการสอดแทรกเข้าในเนื้อเยื่อได้ดีกว่า และน้ำข้อเทียมที่มีน้ำหนักโมเลกุลปานกลาง
1.น้ำหนักโมเลกุลใหญ่ (High molecular weight)
จะช่วยหล่อลื่นข้อต่อ และช่วยรับแรงกระแทกได้ดีกว่าแบบโมเลกุลเล็ก แต่ข้อเสียคือ ไม่สามารถซึมผ่านเนื้อเยื่อที่บุอยู่ภายในข้อ เพื่อไปกระตุ้นการสร้างใหม่ของน้ำเลี้ยงไขข้อธรรมชาติได้
2.น้ำหนักโมเลกุลเล็ก (Low molecular weight)
น้ำไขข้อเทียม แบบน้ำหนักโมเลกุลเล็ก สามารถซึมผ่านเข้าเนื้อเยื่อที่บุในข้อ และจับกับเซลล์ในเนื้อเยื่อได้บางส่วน เพื่อไปช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำไขข้อแบบธรรมชาติขึ้นใหม่ได้ แต่ข้อเสียของน้ไขข้อโมเลกุลเล็กคือ ความหนืดจะต่ำ จึงหล่อลื่นข้อได้ไม่ดีเท่าที่ควร
3. น้ำหนักโมเลกุลกลาง (Medium molecular weight)
จะเป็นช่วงน้ำหนักโมเลกุลที่เหมาะสม เพราะประกอบด้วยคุณสมบัติทั้ง 2 อย่างได้แก่ ให้ประสิทธิภาพทั้งการหล่อลื่นและซีมผ่านไปกระตุ้นการสร้างน้ำเลี้ยงไขข้อใหม่ได้
กรดไฮยาคูโรนิค หรือน้ำไขข้อเทียม ทำมาจากอะไร?
1.น้ำไขข้อเทียม สกัดจากสัตว์ปีก (avian source)
จากงานวิจัยรายงานว่า น้ำไขข้อเทียม ที่สกัดจากสัตว์ปีก มีโอกาสเกิดการแพ้ โดยเฉพาะคนที่แพ้โปรตีนสัตว์ปีกได้
2.น้ำไขข้อเทียม สกัดจากกระบวนการหมักเชื้อ (Bio-fermentation source)
น้ำไขข้อเทียม ที่ได้จากการหมักเชื้อ เป็นที่ยอมรับกันมากในปัจจุบัน เพราะมีความปลอดภัยและเกิดการแพ้ด่ำ
3.น้ำไขข้อเทียมสกัด และนำไปเชื่อมต่อด้วยสารเคมี (Cross-inkad)
น้ำไขข้อเทียมสกัด แล้วเชื่อมต่อด้วยสารเคมี เพื่อให้ได้สายโช่ของกรดโฮยาลูโรนิคที่ใหญ่ขึ้น แต่จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายอาจสร้างสารมาต่อต้านสารเคมีนี้ จนเกิดอาการรุนแรงได้ โดยเฉพาะในรายที่มีการฉีดซ้ำหลายครั้ง
น้ำข้อไขเทียม มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
น้ำไขข้อเทียม หรือกรดไฮยาลูโลนิค (Hyaluronic acid) (HA) เป็นของเหลวลักษณะคล้ายเจล พบมากที่ข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อไหล่ และลูกตา
น้ำไขข้อเทียม จัดเป็นยาฉีดเข้าข้อ ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอเมริกา US FDA เพื่อใช้ทดแทนน้ำหล่อลื่นในข้อเข่า (แต่ยังสามารถใช้เพื่อฉีดที่ข้อไหล่และข้อสะโพกเพื่อจุดประสงค์เดียวกันได้ด้วย)
น้ำไขข้อเทียม หลังจากฉีดเข้าไปในข้อแล้วนั้น จะเกิดประโยชน์ดังนี้
1. น้ำไขข้อเทียม ช่วยหล่อลื่นข้อต่อ (Lubrication)
น้ำไขข้อเทียม จะช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อ ลื่นขึ้น นุ่มนวลขึ้น ช่วยลดเสียงกรอบแกรบภายในช่องข้อ และลดการติดขัด หากยั่งงอเข่า หรือนอนเหยียดเข่าเป็นเวลานาน
2. น้ำไขข้อเทียม ช่วยรองรับแรงกระแทกให้กับข้อเข่า (Shock absorption)
ความหนาแน่นของน้ำข้อเทียม ทำให้เกิดแรงกระทำที่กระดูกอ่อนลดลง ลดอาการเจ็บปวดจากการเสียดสีของกระดูกอ่อนบริเวณที่สึกไป โดยในผู้ป่วยข้อเสื่อมนั้น คุณสมบัติ viscoelasticity หรือ ความหนืดของน้ำไขข้อจะลดลงอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการช่วยหล่อลื่นและรองรับแรงกระแทกให้กับข้อนั้นลดลงตามไปด้วย เป็นเหตุให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมากขึ้นและมีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดตามมา
3.น้ำไขข้อเทียม ช่วยลดการอักเสบในข้อ (Anti-inflammatory effects)
จากงานวิจัยพบว่าหลังจากฉีดน้ำข้อเทียม ข้อเข่ามีการอักเสบลดลง และตามมาด้วยอาการบวมและปวดที่ลดลง
4.น้ำไขข้อเทียม ช่วยลดปวด
โดยน้ำไขข้อเทียม จะจับกับปลายประสาท (Boundary around nerve endings) ช่วยลดการส่งกระแสประสาทความปวดไปที่สมอง ส่งผลผลช่วยในเรื่องลดอาการปวด
5.น้ำไขข้อเทียม ช่วยนำสารอาหารไปเลี้ยงข้อเข่า
โดยจากงานวิจัย พบว่าน้ำไขข้อเทียม ช่วยนำสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงผิวของกระดูกอ่อน และเยื่อหุ้มข้อเข่าได้
6.น้ำไขข้อเทียม ช่วยสร้างน้ำไขข้อธรรมชาติ
7.น้ำไขข้อเทียม ช่วยชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ได้ประมาณ 1-2 ปี
การฉีดน้ำไขข้อเทียม เหมาะกับใคร?
การรักษาโดยการฉีดน้ำไขข้อเทียม จะได้ผลดีในผู้ที่มีอาการปวดเข่ามาจากผิวกระดูกอ่อนภายในข้อ ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมระยะแรก ถึงระยะกลาง
- ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมระยะแรก ถึงระยะกลาง ที่ต้องการรักษาโดยไม่ต้องการทานยาแก้ปวด และยาลดอักเสบ หรือผู้ป่วยมีข้อห้ามในการทานยาแก้ปวดต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงทานยากลุ่มดังกล่าว
- ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ที่ไม่ต้องการ หรือไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ แต่มีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรัง หรือปวดเป็นๆ หายๆ
ข้อควรระวัง และข้อห้าม ในการฉีดน้ำไขข้อเทียม
- ไม่ควรฉีดในผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง มีการติดเชื้อในข้อเข่า มีการคั่งของเลือด หรือน้ำเหลืองที่ขา
- ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
- ผลิตภัณฑ์น้ำไขข้อเทียมที่สกัดจากหงอนไก่ ไม่ควรใช้ในผู้ที่แพ้โปรตีนจากสัตว์ปีก
- ผลิตภัณฑ์น้ำไขข้อเทียมชนิดที่สกัดจากแบคทีเรียธรรมชาติ จะปลอดภัยมากกว่า
- ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสารสังเคราะห์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรงได้
การฉีดน้ำไขข้อเทียม ต้องฉีดกี่เข็ม?
ปริมาณการฉีดน้ำไขข้อเทียม ขึ้นกับอาการข้อเสื่อมของผู้ป่วย ระยะเวลาเกิดโรค และบริเวณข้อที่มีปัญหา โดยในการฉีดน้ำไขข้อเทียม จะมีการแบ่งน้ำเลี้ยงข้อเทียมตามขนาดโมเลกุลของยาที่ฉีด
- ถ้าเป็นขนาดเล็ก แพทย์มักจะฉีด 3 – 5 เข็ม โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 เข็มต่อครั้ง ขึ้นกับอาการ ความรุนแรง และชนิดของน้ำไขข้อเทียม
- ถ้าเป็นขนาดโมเลกุลใหญ่ แพทย์จะฉีดเพียงครั้งเดียว จะคลอบคลุมอาการได้นาน 6 เดือน – 1 ปี
ฉีดน้ำไขข้อเทียม มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?
การฉีดน้ำไขข้อเทียม อาจเกิดอาการปวดบริเวณที่ฉีดภายหลังการฉีดนานเป็นชั่วโมงหรือวัน แต่อาการปวดไม่รุนแรง และหายได้เอง สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วย การพักใช้ข้อเข่าหลังฉีดยา อย่างน้อย 48 ชั่วโมง และประคบเย็นบริเวณที่ปวด แต่ถ้ามีอาการปวด บวม หรือแพ้รุนแรง ให้รีบพบแพทย์ทันที
หลังการฉีดน้ำไขข้อเทียม ควรปฏิบัติอย่างไร?
หลังจากฉีดน้ำไขข้อเทียม ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องยกของหนักเป็นเวลา 1-2 วัน จากนั้นสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ โดยการฉีดน้ำไขข้อเทียม จะฉีดติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า ได้ผลดีกว่าการฉีดเพียงครั้งเดียว และจากงานวิจัยระบุว่า การฉีดน้ำข้อเทียมต่อเนื่อง เมื่อมีอาการปวด จะทำให้ลดอาการปวดจากข้อเสื่อมต่อไปได้อีกหลายปี และบางรายอาจไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเนื่อจากอาการปวดได้ลดลงไปแล้ว
บทส่งท้าย
การฉีดน้ำไขข้อเทียม ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะ ในระยะที่เสื่อมไม่มาก
- ในผู้ป่วยต้องการใช้วิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การทำกายภาพบำบัด การใช้อุปกรณ์ช่วย
- ในผู้ป่วยที่ใช้ยาแก้ปวดแล้วไม่ได้ผล
- และในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ยาต้านอักเสบ หรือยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อย่างไรก็ตามการฉีดน้ำไขข้อเทียม มีราคาค่อนข้างสูง และเป็นยานอกบัญชีหลักแห่งชาติจึงอาจไม่ครอบคลุมสิทธิ์การรักษาในผู้ป่วยบางราย
เริ่มดูแลข้อข้อเข่าในวันนี้ จะช่วยรักษา และยืดอายุของการเป็นข้อเข่าเสื่อมได้ ช่วยลดโอกาสการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และช่วยลดการปวดเข่า และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น